ทำเลที่ตั้ง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 18-54
องศาเหนือที่ชายแดนจีนกับรัซเซีย บริเวณแม่น้ำอามูร์
และระหว่างลองติจูดที่ 74-145 องศาตะวันออกที่หมู่เกาะคูริลประเทศญี่ปุ่น
โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับดินแดนของสหพันธรัฐเซีย
ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแปซิฟิก
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับภูมิภาคเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียกลาง
ทิศใต้
ติดต่อกับภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ11,640,000
ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 15 และ 20 ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย
นับเป็นภูมิภาคย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชีย
ประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 9,584,492 ตารางกิโลเมตร
เอเชียตะวันออกมีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน
หรือประมาณร้อยละ 40 ของของชาวเอเชียทั้งหมด หรือประมาณ 1
ใน 4 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
อัตราความหนาแน่นของประชากรในเอเชียตะวันออกอยู่ที่ 230 คนต่อตารางกิโลเมตร
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของประชากรโลกถึง 5 เท่า ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ ประเทศจีน มีประชากรประมาณ 1,322,044,605
หรือร้อยละ 85 ของประชากรในภูมิภาค
ส่วนประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ ไต้หวัน ความหนาแน่นเฉลี่ย 626.7
คนต่อตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้
เอเชียตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในทวีปเอเชีย
เพราะเป็นภูมิภาคเดียวที่การทำอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้
จีน และไต้หวัน ส่วนประเทศมองโกเลียและเกาหลีเหนือ อุตสาหกรรมยังไม่ค่อยพัฒนานัก
เมืองอุตสาหกรรมสำคัญของเอเชียตะวันออก ได้แก่ โตเกียว ฮิโระชิมะ นะงะซะกิ โซล ปูซาน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไทเป อินช็อน เทียนสิน ฮ่องกง เป็นต้น
แผนที่ของเอเชียตะวันออก |
ประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออก |
ภูมิอากาศของเอเชียตะวันออก Climate
of east asia
ลักษณะภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมประจำปีและฤดูกาล
ดังนี้
1.ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ เป็นลมที่พัดผ่านเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศสูงที่ไซบีเรีย ลมที่พัดออกจากแผ่นดินมีคุณสมบัติและทิศทางแตกต่างกัน ดังนี้
ลมตะวันตกเฉียงเหนือเป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านทางตอนเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จึงเป็นลมเย็นและแห้ง แต่เมื่อพัดผ่านทะเลญี่ปุ่นเข้าสู่เกาะญี่ปุ่นจะเป็นลมเย็นและชื้นลมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านประเทศมองโกเลีย และดินแดนตอนในของจีนทำให้พื้นที่นี้หนาวเย็นและแห้งแล้ง
2.ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิของอากาศอุ่นขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ พบในประเทศจีนตอนบน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ส่วนบริเวณที่ตั้งอยู่ใต้เส้นขนานที่ 30 จะมีอากาศร้อนและมีฝนตก เนื่องจากมีลมพัดเข้าชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนและไต้หวัน
3.ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม แผ่นดินบริเวณทะเลทรายธาร์ในอินเดียเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ลมเคลื่อนที่ผ่านญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีน รวมทั้งไต้หวัน พัดจากทะเลเข้าสู่แผ่นดินในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ส่วนมองโกเลียและบริเวณทิศตะวันตกของจีน ซึ่งห่างจากแผ่นดินมากจะมีฝนตกเล็กน้อยหรือไม่ตกเลย เนื่องจากความห่างไกลจากทะเลและมีแนวเขาขวางกั้นทิศทางลม ช่วงนี้ถึงเดือนพฤศจิกายนประเทศที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และจีน จะได้รับอิทธิพลของลมพายุหมุนเขตร้อนทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น และเกิดน้ำท่วมเสมอ
4.ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ปริมาณฝนเริ่มลดลงจากลมตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นกรณีพายุหมุน) บริเวณที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเริ่ม หนาวเย็น ต้นไม้จะเริ่มทิ้งใบ เรียกว่า “ฤดูใบไม้ร่วง” บริเวณภาคเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและมองโกเลีย ส่วนบริเวณที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 30 กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว มีอุณหภูมิไม่ต่ำมาก ใบไม้จึงไม่ร่วงเหมือนดินแดนที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 30
1.ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ เป็นลมที่พัดผ่านเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศสูงที่ไซบีเรีย ลมที่พัดออกจากแผ่นดินมีคุณสมบัติและทิศทางแตกต่างกัน ดังนี้
ลมตะวันตกเฉียงเหนือเป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านทางตอนเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จึงเป็นลมเย็นและแห้ง แต่เมื่อพัดผ่านทะเลญี่ปุ่นเข้าสู่เกาะญี่ปุ่นจะเป็นลมเย็นและชื้นลมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมหนาวเย็น เมื่อพัดผ่านประเทศมองโกเลีย และดินแดนตอนในของจีนทำให้พื้นที่นี้หนาวเย็นและแห้งแล้ง
2.ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิของอากาศอุ่นขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ พบในประเทศจีนตอนบน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ส่วนบริเวณที่ตั้งอยู่ใต้เส้นขนานที่ 30 จะมีอากาศร้อนและมีฝนตก เนื่องจากมีลมพัดเข้าชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนและไต้หวัน
3.ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม แผ่นดินบริเวณทะเลทรายธาร์ในอินเดียเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ลมเคลื่อนที่ผ่านญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีน รวมทั้งไต้หวัน พัดจากทะเลเข้าสู่แผ่นดินในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ส่วนมองโกเลียและบริเวณทิศตะวันตกของจีน ซึ่งห่างจากแผ่นดินมากจะมีฝนตกเล็กน้อยหรือไม่ตกเลย เนื่องจากความห่างไกลจากทะเลและมีแนวเขาขวางกั้นทิศทางลม ช่วงนี้ถึงเดือนพฤศจิกายนประเทศที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และจีน จะได้รับอิทธิพลของลมพายุหมุนเขตร้อนทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น และเกิดน้ำท่วมเสมอ
4.ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่ปริมาณฝนเริ่มลดลงจากลมตะวันออกเฉียงใต้ (ยกเว้นกรณีพายุหมุน) บริเวณที่ตั้งอยู่เหนือเส้นขนานที่ 30 จะเริ่ม หนาวเย็น ต้นไม้จะเริ่มทิ้งใบ เรียกว่า “ฤดูใบไม้ร่วง” บริเวณภาคเหนือของจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและมองโกเลีย ส่วนบริเวณที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 30 กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว มีอุณหภูมิไม่ต่ำมาก ใบไม้จึงไม่ร่วงเหมือนดินแดนที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 30
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น