วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต  
         ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดียและบังคลาเทศ โดยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันตก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยแบ่งตามภูมิศาสตร์คือ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีป และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ

ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และติมอร์ตะวันออก
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน มีช่องแคบ 4 แห่ง ได้แก่ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย



เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทยเวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมุทร ประกอบด้วย บรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์ตะวันออก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
แผนที่ที่ตั้งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูเขาไฟมายอน  ประเทศฟิลิปปินส์


เศรษฐกิจ
อาชีพสำคัญของประชากร 
       1. เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตภูเขาไฟ เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและเป็นประโยชน์แก่พืช พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เครื่องเทศ ผักผลไม้ เป็นต้น 
       2. การทำป่าไม้ ในภูมิภาคนี้มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ในบริเวณเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก จะเป็นเขตป่าทึบ มีต้นไม้ลำต้นสูงใหญ่ ได้แก่ เขตป่าไม้ ้ภาคใต้ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในเขตป่าโปร่งจะมีต้นไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าไม้ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ยาง เป็นต้น 
       3. การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน ได้แก่ โค กระบือ ช้าง ม้า เป็นต้น สัตว์บางชนิดเลี้ยงไว้ใช้งานและเป็นอาหาร แต่บางชนิดเลี้ยงไว้เป็นอาหารอย่างเดียว เช่น สุกร ไก่ เป็ด แกะ เป็นต้น 
       4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญได้แก่ บริเวณอ่าวไทย อ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน ประเทศที่ทำการประมงมาก ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย นอกจากนั้น ยังมีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงในบ่อในนา ได้แก่ การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย และการเลี้ยงปลา 
       5. การทำเหมืองแร่ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทังสเตน เป็นต้น มีมากในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สำหรับน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ พบมากที่เกาะบอร์เนียว ( บรูไน ) ชวา สุมาตรา ในอินโดนีเซีย 
       6. การทำอุตสาหกรรม จะเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมครัวเรือนมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และในปัจจุบันรัฐบาลประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น 
       7. การพาณิชยกรรม สินค้าที่ส่งไปขายยังตลาดโลก จะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรม และแร่ธาตุต่างๆ สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล รถยนต์ เครื่องทุนแรงต่างๆ และยารักษาโรค 

       8. การคมนาคมขนส่ง มีทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อม การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ การคมนาคมทางอากาศมีสายการบินระดับภูมิภาคและระดับโลกผ่านทุกประเทศ 
สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม 
       1. ลักษณะสำคัญของประชากร ประชากรในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่า ได้แก่
       - ออสตราลอยด์ มีรูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ศรีษะยาว ผมหยิก เป็นชนพื้นเมืองเดิมในออสเตรเลีย
       - เมลานิซอยด์ รูปร่างสันทัด ผิวดำ กะโหลกศรีษะยาวและแคบ ผมหยิกเป็นฝอย อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
       - เนกริโต ผิวดำ ผมหยิก ตัวเล็ก เป็นบรรพบุรุษดั้งเดิมของชนเผ่าบางพวกที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น พวกเงาะ เซมัง อาศัยอยยู่ในประเทศมาเลเซีย และภาคใต้ของไทย 
       2. ลักษณะสำคัญทางภาษา ภาษาพูดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษามาลาโย-โพลีนีเซียน ภาษาออสโทร-เอเซียติก ภาษาทิเบโต-ไชนิส และภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ ภาษาของชาติตะวันตก เป็นต้น 
       3. ศาสนาที่สำคัญ 
       - ศาสนาพุทธ นับถือมากใน ประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา 
       - ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน 
       - ศาสนาคริสต์ นับถือมากในประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศ สิงคโปร์ และติมอร์ตะวันออก จะมีความหลากหลายในการนับถือศาสนา 


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น