ตั้งอยู่ในแถบซีกโลกใต้ ระหว่างละติจูด 12 องศา 25 ลิปดาเหนือ ถึง 56 องศาใต้และลองติจูด 34 องศา 47 ลิปดาตะวันตก ถึง 81 องศา 20 ลิปดาตะวันตก อาณาเขตของทวีปอเมริกาใต้มีดังนี้
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีคลองปานามาเป็นเส้นกั้นเขตแดนและติดต่อกับทะเลแคริบเบียน ในมหาสมุทรแอตแลนติก จุดเหนือสุดอยู่ที่แหลมกายีนาส ในประเทศโคลอมเบีย
ทิศใต้ ติดกับทวีปแอนตาร์กติกา มีช่องแคบเดรกเป็นเส้นกั้นเขตแดน จุดใต้สุดอยู่ที่แหลมโฟร์วาร์ด ในคาบสมุทรบรันสวิก ประเทศชิลี
ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันออกสุดอยู่ที่แหลมโคเคอรูส ในประเทศบราซิล
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก จุดตะวันตกสุดอยู่ที่แหลมปารีนเยสในประเทศเปรู
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาใต้สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะได้แก่
1. เขตเทือกเขาตะวันตก ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส ซึ่งทอดตัวยาวขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ทางเหนือบริเวณทะเลแคริบเบียนไปจนถึงแหลมฮอร์นทางตอนใต้ มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร เป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก ยอดเขาสูงที่สุดในบริเวณนี้ คือ ยอดเขาอะคองคากัว สูงประมาณ 6,924 เมตร บริเวณตอนกลางของเทือกเขามีที่ราบสูงที่สำคัญคือ ที่ราบสูงโบลิเวีย มีความสูงถึง 4,500 เมตร และมีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากที่ราบสูงทิเบต บนที่ราบสูงแห่งนี้มีทะเลสาบซึ่งเป็นทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก ได้แก่ ทะเลสาบติติกากา ในประเทศเอกวาดอร์
2. เขตที่ราบสูงตะวันออก ประกอบด้วยที่ราบสูงสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่
ที่ราบสูงกิอานา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศเวเนซูเอลา กายอานาซูรินาเม เฟรนซ์เกียนา และภาคเหนือของบราซิล มีลักษณะที่เป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาสลับซับซ้อน
ที่ราบสูงบราซิล ตั้งอยู่ตอนกลางของทวีป บริเวณตะวันออกของประเทศบราซิล ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา และที่ราบลุ่มแม่น้ำปารากวัย ทางตะวันออกมีความสูงชัน จากนั้นค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางตะวันตก
ที่ราบสูงปาตาโกเนีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป ในเขตประเทศอาร์เจนตินาทางตะวันออกค่อนข้างราบเรียบและค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทางตะวันตก
3. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ อยู่บริเวณตอนกลางของทวีป เป็นที่ราบดินตะกอนที่มีความอุดมสมบูรณ์และกว้าง ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่ราบสูงทางตะวันออก เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้มี 2 บริเวณได้แก่
ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนหรืออเมซอน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ส่วนมากมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีสและไหลสู่มหาสมุทรแอตแลนติก แม่น้ำที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือ แม่น้ำแอมะซอน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศโคลอมเบีย และเวเนซุเอลา บริเวณนี้เป็นเขตเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้
แม่น้ำที่สำคัญในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่
แม่น้ำแอมะซอน มีความยาว 6,440 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส ไหลผ่านประเทศบราซิล ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
แม่น้ำปารานา มีความยาว 2,800 กิโลเมตรมีต้นกำเนิดจากที่สูงทางตะวันออกของทวีป ไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณอ่าวริโอเดอลาพลาตา
แม่น้ำปารากวัย มีความยาว 2,550 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากที่สูงในประเทศบราซิลไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัยไปรวมกับแม่น้ำปารานาในเขตประเทศอาร์เจนตินา
ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้
1. ละติจูด พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปครอบคลุมเขตอากาศร้อน และประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทวีปเป็นอากาศแบบอบอุ่น ภูมิภาคทางเหนือของทวีปจะมีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับภูมิภาคทางใต้
2. ลมประจำ ได้แก่
ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุ่มชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ
ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
ลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีป
บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป ตั้งแต่ประมาณละติจูด 40 องศาใต้ลงไป
3. ทิศทางของเทือกเขา ทวีปอเมริกาใต้มีเทือกเขาสูงอยู่ทางตะวันตกของทวีป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่กั้นขวางอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทร ทำให้บริเวณที่ใกล้เทือกเขาค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งด้านตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่
4. กระแสน้ำ มี 3 สายที่สำคัญ คือ
กระแสน้ำอุ่นบราซิล ไหลเลียบชาวยฝั่งของประเทศบราซิล
กระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ ไหลเลียบชายฝั่งประเทศอาร์เจนตินา
กระแสน้ำเย็นเปรู (ฮัมโบลด์) ไหลเลียบชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี
เขตภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 8 เขต ดังนี้
ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน เป็นบริเวณที่มีอากาศเย็น ป่าดิบชื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่ประเทศบราซิล มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและใต้ของลุ่มแม่น้ำแอมะซอน มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูร้อนมีฝนตกแต่ไม่ชุกเหมือนในเขตป่าดิบชื้น อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะอากาศคล้ายกับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ภาคใต้ของเปรูและภาคเหนือของชิลี เป็นบริเวณที่ร้อนและแห้งแล้งมาก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี และบางครั้งฝนไม่ตกยาวนานติดต่อกันหลายเดือน ทะเลทรายที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามาในประเทศชิลี ในบริเวณนี้มีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อปี บางครั้งฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จัดเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ ทางตะวันออกของประเทศอาร์เจนตินาจนถึงที่ราบสูงปาตาโกเนีย อุณหภูมิไม่สูงนักเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ปริมาณฝนน้อยประมาณ 500 มิลลิเมตรต่อปี
ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางของประเทศชิลี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีฝนตก
ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ตั้งแต่ตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกกวัย และตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา อากาศในบริเวณนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนมีฝนตกเฉลี่ย 750 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ภูมิอากาศแบบภาคฟื้นสมุทร ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลอากาศหนาวจัด มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วงเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี
ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่ คือ บริเวณที่ราบมีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก เมื่อสูงขึ้นอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนจะลดลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 15 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตรต่อปี ในขณะที่ประเทศอื่นที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สุตร แต่ตังอยู่บนที่ราบ (เช่น มาเลเซีย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซียส และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีสูงกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี
ลักษณะเศรษฐกิจ
ลักษณะเศรษฐกิจ
การทำเกษตรกรรม
จากลักษณะอากาศของทวีป เหมาะกับการปลูกพืชเมืองร้อน เช่น กาแฟ กล้วย โกโก้ อ้อย ยาสูบ โดยเฉพาะกาแฟมีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บราซิลและโคลัมเบีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา – ปารากวัย – อุรุกวัย มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี เนื่องจากอยู่ในเขตอบอุ่นและเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเขตประเทศอาร์เจนตินา
การเพาะปลูกในทวีปมีทั้งการเพาะปลูกเป็นไร่การค้าขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เอสตันเซีย และมีการเพาะปลูกแบบยังชีพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น