วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน

                                 

         ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในฤดูร้อนของทวีปยุโรปและในบริเวณใกล้เคียงในบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล และใต้และบริเวณใกล้เคียงไปทางทิศเหนือของเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ที่ดวงอาทิตย์ยังคงมองเห็นในเวลาเที่ยงคืน โดยมีโอกาสตามสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้สำหรับอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลและตอนใต้ของทวีปแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนที่อาจเกิดขึ้นในจำนวนวันที่ไม่แน่นอน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ถาวรทางตอนใต้ของขั้วโลกเหนือ ดังนั้นประเทศและดินแดนที่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์เที่ยงคืนได้จะจำกัดให้คนข้ามเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลเช่น แคนาดา (ยูคอน, นูนาวุต), สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), เดนมาร์ค (กรีนแลนด์), นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, รัสเซีย, ไอซ์แลนด์ โดยดินแดนของ นอร์เวย์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตกดินเป็นเวลายาวนานที่สุด (73 วัน) ในช่วงฤดู​​ร้อนในเมืองสฟาลบาร์

        นอร์เวย์ได้ชื่อ "ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน" หรือ The Midnight Sun มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะโลกกลมและหมุนรอบแกนของตัวเอง พร้อมโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยจะเอียงแกนเอาขั้วโลกเหนือ-ใต้ สลับเข้าหาดวงอาทิตย์ชั่วระยะหนึ่งใช้เวลาเท่าๆ กันคือประมาณ 4-6 เดือน ระหว่างที่โลกหันเอาขั้วนั้นเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน

เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกเหนือจะได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ สว่างอยู่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานับเดือน จะเห็นอาทิตย์โคจรเป็นทางโค้งอยู่เหนือขอบฟ้า ขึ้นสูงพ้นยอดไม้ และค่อยลดต่ำลงจนเกือบจดขอบฟ้า แต่จะไม่ลับขอบฟ้าไปเสียเลยทีเดียว ก่อนกลับสูงขึ้นไปอีกในตอนเที่ยงคืน ทำให้มีแสงสว่างสาดเป็นทาง ต้นไม้มีเงายาวทอดออกไปตามพื้นดิน คล้ายอาทิตย์ในยามเช้าหรือยามเย็น

ขณะเดียวกัน ฝั่งตรงข้ามคือขั้วโลกใต้จะมืดมิด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือนเช่นกัน แต่เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกใต้ก็จะสว่างเป็นเวลานาน และมีปรากฏการณ์เห็นดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนเช่นกัน (เพียงแต่ว่าซีกโลกนั้นไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยยืนยัน มีเพียงเพนกวินจักรพรรดิเท่านั้นที่เตาะแตะชมวิว) ยามขั้วโลกเหนือตกอยู่ในความมืด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือน

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน ณ โลกเหนือ จะเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นอาร์ติกเซอร์เคิล หรือประมาณเส้นละติจูดที่ 66 องศาเหนือ ทำให้ผู้คนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นละติจูดนี้มองเห็นดวงอาทิตย์ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

สำหรับนอร์เวย์ สถานที่ที่ชมตะวันยามเที่ยงคืนได้เหมาะเจาะคือเมืองทรอมโซ่ ระหว่าง 16 พฤษภาคม-27 กรกฎาคม และเมืองสวาลบอร์ด ซึ่งเป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่นอร์เวย์ขึ้นไปอีก 640 กิโลเมตร ระหว่าง 19 เมษายน-23 สิงหาคม

นอกจากนอร์เวย์ ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ประกอบด้วย อะลาสกา แคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ และดินแดนของรัสเซียอย่างบริเวณโนวาวา เซมล์ยา หรือมูร์มันสก์ ก็สามารถมองเห็นอาทิตย์เที่ยงคืนได้เหมือนกัน ทั้งนี้ดินแดนที่เคยมีบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์อาทิตย์เที่ยงคืนนานที่สุด คือทางปลายเหนือสุดของฟินแลนด์ ดวงอาทิตย์ไม่ตกดินนานถึง 73 วัน

สำหรับการจัดเวลากลางวันกลางคืน ดวงอาทิตย์ไม่สร้างความสับสน เพราะว่าไปตามนาฬิกาเป็นปกติ

                                   


                                   

 
                                         




ความหมาย องค์ประกอบ การอ่านแผนที่ เพื่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์






       แผนที่ หมายถึงการนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆๆ บนพื้นผิวโลก (Earth'surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเชียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmead) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
แผนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ใช้ช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆตลอดจน การศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ แผนที่เปรียบเสมือนเป็นชวเลขที่ดียิ่งของนักภูมิศาสตร์ อันที่จะเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ให้ละเอียดลึกชึ้ง

ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
ความสามรถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษญ์ชาติ พฤติกรรมที่แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวงกเอศกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะก้านมะพร้าว แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัด พวก nomad ที่เร่ร่อนทะเลทรายตามที่ต่างๆ จะใช้โดยขีดบนผืนทราย
- แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือแผนที่ของชาวเมโลโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธ
ศักราช
- สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี พ.ศ.323ว่า
โลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดย อีแรโตสเตนีส โดยใช้หลักทาคณิตศาสตร์ โดย
สร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
- ต่อมาปี พ.ศ. 370ปี ปโตเลมี นำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมาปรับปรุงกำหนดค่ามุม
ของเส้นขนานและเว้นเมอริเดียน

                                                 ประวัติแผนที่ประเทศไทย
แผนที่ของปโตเลมี ฉบับที่เขียนเมื่อพ.ศ. 693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจุบันว่า
Aurea Khersonesus ชึ่งแปลว่า แหลมทอง (Golden Peninsular)แผนที่ในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดคือ แผนที่ยุทธ์ศาสตร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี 1893 1912 การทำแผนที่ประเทศไทยเริ่มเมื่อ ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่ด้านทิศตะวันตกไทยกำหนดพรมแดนไทยกับพม่า


ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่

แผนที่มีความสำคัญ คือเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงาน หรือประกอบกิจการต่างๆมนุษย์รู้จัก ใช้ แผนที่มาตั้งแต่โบราณ ประโยชน์ ของแผนที่ในสมัยนั้น คือใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารในทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ปัจจุบันแผนที่ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง รวดเร็ว ความจำเป็นในการวาง
ผังเมืองให้ เหมาะสม กับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติจึงเพิ่มมากตาม แผนที่จึงมีความสำคัญต่อ การนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประโยชน์ของแผนที่มีมากมาย แต่ได้จัดไว้ ตามการดำเนินกิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้


1. ประโยชน์ทางด้านการเมือง

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ จำเป็น
จะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์"และเครื่องมือ ที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ก็คือแผนที่ เพราะใช้ประโยชน์ในการศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ปัญหาแนวพรมแดนระหว่างประเทศ


2. ประโยชน์ทางด้านการทหาร
ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูก ต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ

3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ ของประชาชนภายในชาติเ พราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงการดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการสำรวจ ศึกษาสภาพ และวางแผนการทำงาน และทุกขั้นตอนของการดำเนินงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้แผนที่ที่เหมาะสมเช่น การพัฒนาด้านการเกษตร งานในด้านการคมนาคม

4. ประโยชน์ทางด้านสังคม

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมเดิมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่านรายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกัน เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล หรือสมมุติฐานของ เหตุการณ์ที่จtเกิดในอนาคตเพื่อหามาตรการและวางแผนการป้องกันผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดในอนาคตหรือเพื่อวางแผนพัฒนาสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการวาง ผังเมืองให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนนอกจากนี้ในการศึกษาทางด้านโบราณคดีก็ต้องอาศัยแผนที่ เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณอีกด้วย


ชนิดของแผนที่

การแบ่งประเภทของแผนที่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ


1. แผนที่แบบแบนราบ (Planimetric Map)

ได้แก่ แผนที่ถึงแสดงรายละเอียดทั่วไปของพื้นผิวพิภพในทางราบแต่ไม่แสดงความสูง
ต่ำของภูมิประเทศ ให้ประโยขน์ในทางด้านการแสดงตำแหน่งและการหาระยะทางใน
ทางราบ

                                                  

2. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)_

ได้แก่ แผนที่ชึ่งแสดงรายละเอียดทั่วไปรวมทั้งลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศ ชึ่งอาจเป็น
แผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่และปานกลางแต่เสียเวลาและแรงงานในการจัดทำมาก
                                   

3. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)

เป็นแผนที่ ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศ ชึ่งอาจได้เป็นสีหรือภาพขาวดำก็ได้ แล้วนำมาจัดในลักษณะของโมเซค (Mosaic)ชึ่งมีโครงสร้างพิกัดศัพท์ทางภูมิศาสตร์ และรายละเอียดประจำของระวาง แผนที่มีประโยขน์มาก สามารถจัดทำได้อย่ารวดเร็วแต่มีความยากในการอ่าน ผู้อ่านต้องมีความรู้ในการใช้แผนที่ทางอากาศมาก่อน

                                    


ชนิดของแผนที่
1. แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏให้เห็นบนแผนที่ เช่น
1.1. แผนที่ลายเส้น (Line Map) รายละเอียดที่ปรากฏเป็นลายเส้นตรงหรือเส้นโค้ง อื่นๆ
1.2. แผนที่แบบผสม (Annotated Maps) ผสมระหว่างภาพถ่ายกับลายเส้นเน้นถนน

2. แบ่งตามขนาดมาตราส่วน แยกเป็น 2 อย่างคือ
2.1. แบ่งในทางภูมิศาสตร์
2.2. แบ่งในกิจการทหาร
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน แยกเป็น 12 อย่าง
3.1. แผนที่ทั่วไป General Map เป็นรากฐานในการทำแผนที่อื่นๆ
3.2. แผนที่โฉนดที่ดิน (Cadastral Map) แสดงระยะขอบเขตที่ดิน
3.3. แผนที่ผังเมือง (City Map , Ciyt Plan) แสดงอาคารบ้านพัก และตัวเมือง
3.4. แผนที่ทางหลวง (Highway Map) แสดงถนนสายสำคัญ
3.5. แผนที่เศรษฐกิจ (Economic Map) แสดงเขตอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อื่นๆ
3.6. แผนที่สถิติ (Statistical Map) แสดงราการทางสถิติต่างๆ
3.7. แผนที่การใช้ที่ดิน (Land-use Map) นิยมใข้สีแสดงความแตกต่าง
3.8. แผนที่รัฐกิจ (Political Map) แสดงเขตปกครองและพรมแดน
3.9. แผนที่ประวัติศาสตร์ (Historical Map) แสดงอาณาเขตสมัยต่างๆ ชาติพันธุ์
3.10. แผนที่เพื่อนิเทศ (illustortion Map) เพื่อโฆษณา และนิทรรศการต่างๆ
3.11. แผนที่เฉพาะเรื่อง (Topical Map)แสดงเรื่องต่างๆ
3.12. แผนที่ทรวดทรง (Relief Map) แสดงรูปร่างผิวพื้นพิภพ สูงต่ำอย่างไร

4. แบ่งตามกิจการทหาร แบ่งออกเป็น 6 อย่าง

4.1. แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strstegic Map)
4.2. แผนที่ยุทธวิธี (Tactical Map)
4.3. แผนที่ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี (Stragic Tactical Map)
4.4. แผนที่ทหารปืนใหญ่ (Artillery Map)
4.5. แผนที่การบิน (Aeronautical Map)
4.6. แผนที่ทะเล (Navigation or nautical charts)

องค์ประกอบของแผนที่

คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อให้ผู้ที่ใช้แผนที่ได้รับทราบรายละเอียด อย่างพอเพียงเพื่อการอ่านแผนที่ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ โดยทั่วไปจะมี 3 ประการ ก็คือ
1. รูปร่างลักษณะแผ่นแผนที่ โดยต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
- ขอบกระดาษ (Paper Trim) ต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเหมาะสมกับพื้นที่แผนที่นั้นๆ
- ขอบระวางแผนที่ (Sheet Line) เป็นเส้นกั้นรายละเอียดของภูมิประเทศในพื้นที่ที่ต้อง การแสดงมีตั้งแต่ 1-3 เส้นก็ได้ เพื่อแสดงราบเอียดความแตกต่างของแต่ละพื้นที่
- ขอบจำกัดแสดงรายละเอียด (Work Limit) แนวกำหนดไว้เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม
- รายการขอบระวาง (Marginal Infomation)
2. องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่
- มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) เพื่อใหผู้ใช่ทราบมาตราส่วนในแผนที่กับพื้นที่จริง
- คำอธิบายสัญลักษณ(Legend) เป็นรายละเอียดที่แสดงลักษณ์ที่แสดงปรากฏในขอบระวาง
- คำอธบายศัพท์ (Glossary) คำอธิบายศัพท์ที่ปรากฏในระวางให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3. องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่
คือสิ่งต่างๆที่แสดง ไว้ในกรอบชึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วรายละเอียดดังกล่าวจะสัมพันธ์กับองค์ประกอบภายนอกขอบเส้นระวาง ประกอบด้วย
1. มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale)
คือ อัตราส่วนของระยะทางบนแผนที่ (map distance หรือ M.D.)กับระยะทางภูมิประเทศ
(ground distance หรือ G.D.)จะทำให้ผู้ใช้ทราบว่าขนาดจริงๆ ของพื้นที่มีเท่าใด นอกจากนี้ยังทำให้ ทราบระยะทางบนแผนที่มีขนาดในพื้นที่จริงเท่าใด มาตราส่วนที่นิยมใช้ มี3 ชนิด คือ
(1) มาตราส่วนเศษส่วน (fraction scale หรือ rational scale)
แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วนระหว่างระยะทาง ในพื้นที่จริงกับระยะ ทางในแผนที่ เช่น มาตราส่วน 1:10,000,000 หมายความว่า 1 ส่วน บนแผนที่เท่ากับภูมิประเทศจริง 10 ล้านส่วน
(2) มาตราส่วนแบบกราฟิก (graphic scale)มาตราส่วนที่แสดงไว้ด้วยการวาดภาพ รูปภาพ เส้นบรรทัดที่ใช้วัดระยะทาง
(3) มาตราส่วนคำพูด (verbal scale)
เช่น 1 เซนติเมตร ต่อ 1 กิโลเมตร หมายความว่า 1เซนติเมตรในแผนที่เท่ากับภูมิประเทศ
จริง 1 กิโลเมตร
2. เส้นโครงแผนที่ (Map Projections)
คือ การเขียนเส้นเมอริเดียนและเส้นขนานตามวิธีต่างๆ ลงบนแผ่นกระดาษแบนราบบน
แผนที่ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไรโดยใช้ค่าละติจูด
(Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และค่าลองจิจูด (Longitude) หรือที่เรียกว่า เส้น
เมอริเดียน เป็นเส้นสมมุติในการเขียนเส้นโครงแผนที
3. สัญลักษณ์
ในแผนที่จะปรากฏสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อาจจะเป็นรูปทรง ลายเส้น หรือสีต่างๆ โดยมีคำอธิบายความหมาย เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์และอ่านความหมาย ในแผนที่ได้
นอกจากนี้ยังนิยมใช้สีระบายในแผนที่เพื่อแสดงสิ่งต่างๆ ดังนี้
สีแดง ใช้แทน ถนนและเส้นทางคมนาคม
สีเขียว ใช้แทน แสดงบริเวณพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ราบ
สีน้ำเงิน ใช้แทน แหล่งน้ำ ทางน้ำ และภาษาที่ใช้เขียนกำกับแหล่งน้ำ
สีน้ำตาล ใช้แทน ที่สูงและเทือกเขา
สีดำ ใช้แทน สถานที่ที่มนุษย์สร้าง
สีอื่นๆ แสดงรายละเอียดพิเศษโดยกำหนดไว้ในขอบระวางแผนที่

4. ทิศ จะมีเส้นแนวตรงที่ใช้ในการชี้หรือเล็งสิ่งใดๆ เพื่อประโยชน์ในการอ่านแผนที่ โดยทั่วไปจะเขียนเป็นเครื่องหมายแสดงทิศเหนือเป็นทิศหลัก

5. รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลที่ตั้งของแผนที่
คือข้อมูลที่ปรากฏบนขอบระวาง เพื่อใช้แสดง สัญลักษณ์และแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำบล
6. ระบบบ่งระวาง
ในการผลิตแผนที่บางอย่างต้องผลิตให้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างใหญ่ จำนวนแผนที่ที่ ผลิตจึงมีหลายระวาง เช่น แผนที่ทหาร เพื่อสะดวกในการใช้จึงจำเป็นต้องมี การบ่งระวาง ซึ่งประกอบด้วยชื่อชุด หมายเลขชุด ชื่อระวาง ฯลฯ

การอ่านและการแปลความหมายในแผนที่

การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจ จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบ ของแผนที่และทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะแปลความหมายและใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้อย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศแบบลายเส้นซึ่งเป็นแผนที่พื้นฐาน ที่ใช้อยู่แพร่หลายในโลก ปัจจุบันนักวิชาการได้คิดหาระบบและสัญญลักษณ์ที่เป็นสากล ในการกำหนดตำแหน่ง เช่น พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใด ๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถ กำหนดด้วยค่าละติจูด (Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือที่เรียกว่า เส้นเมอริเดียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ นอกจากแสดงให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้ง ระยะทาง และทิศทาง สิ่งสำคัญของแผนที่ชนิดนี้ คือ แสดงความสูงต่ำ และทรวดทรงแบบต่าง ๆ ของภูมิประเทศ การแสดงลักษณะ ภูมิประเทศบนแผนที่ มีหลายวิธี เช่น
1. แถบสี ใช้แถบสีแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวแสดง พื้นที่ราบ สีเหลืองจนถึงสีส้มแสดงบริเวณที่เป็นที่สูง สีน้ำตาลเป็นบริเวณที่เป็นภูเขา
2. เงา การเขียนเงานั้นตามธรรมดานั้น จะเขียนในลักษณะที่มีแสงส่องมาจากทางด้านหนึ่ง ถ้าเป็น ที่สูงชัน ลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง วิธีเขียนเงาจะทำให้จินตนาการถึงความสูงต่ำได้ง่ายขึ้น
3. เส้นลาดเขา เป็นการเขียนลายเส้นเพื่อแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ ลักษณะเส้นจะเป็น เส้นสั้น ๆ ลากขนานกัน ความหนาและช่วงห่างของเส้นมีความหมายต่อการแสดงพื้นที่ คือ ถ้าเส้นหนาเรียง ค่อนข้างชิด แสดงภูมิประเทศที่สูงชัน ถ้าห่างกันแสดงว่าเป็นที่ลาด
4. แผนที่ภาพนูน แผนที่ชนิดนี้ถ้าใช้ประกอบกับแถบสี จะทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
5. เส้นชั้นความสูง คือเส้นสมมุติที่ลากไปตามพื้นผิวโลกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เท่ากัน เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจึงแสดงลักษณะและรูปต่างของพื้นที่ ณ ระดับความสูงหนึ่งเท่านั้น




ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ww&rlz=2C1CFCH_enTH0536TH0536&oq=ww&aqs=chrome..69i60l3j69i57j69i61j0.3691j0&sourceid=chrome&ie=UTF-8#q=%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&spell=1

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

Colmar ประเทศฝรั่งเศส


เมืองแห่งความโรแมนติก


                   Photobucket

สถานที่ ที่ถูกจัดว่า มีความโรแมนติกมากที่สุดในโลก ซึ่งน่าจะหาโอกาสพาคนรักไปเยี่ยมชม สักครั้งหนึ่งในชีวิต

การได้ใช้เวลาไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันหลังแต่งงานในสถานที่สวยๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และเป็นการกระชับสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้นนับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คู่รัก จะต้องแสดงออกถึงความรักระหว่างกันและกัน การแสดงออกในเรื่องความรัก หมายถึง การทำให้ฝ่าตรงข้ามรู้สึกประทับใจ รู้สึกดี รู้สึกผูกพัน รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น ที่เป็นที่นิยมอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การได้ใช้เวลาไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกันในสถานที่สวยๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และกระชับสายสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีกเที่ยว เมืองcolmar หรือ กาล์มาร์ ท่องเที่ยวต่างแดน ท่องเที่ยว ต่างประเทศ ประเทศฝรั่งเศส ดินแดนแห่งความงาม ที่มี ตึกราบ้านช่องสวยงามมีจุดเด่นอยู่ที่ความงามของ ดอกไม้ ที่มีอยู่ทั่วเมืองและColmar ประเทศฝรั่งเศส เมือง Colmar ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีความโรแมนติก เมืองหนึ่ง ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นสถานที่ที่คู่รัก มักจะให้คำสัญญาในความรักระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมือง Colmar ก็คือ ไร่องุ่นจำนวนมาก เคียงคู่ไปกับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม และบรรยากาศ ที่สวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ช่วยทำให้เมือง Colmar เป็นอีกหนึ่งในสถานที่โรแมนติกในฝัน

ดินแดนแห่งความรัก





 
         
              ที่มาhttp://th.travelluxuryeurope.com/colmar/                                                                                         

อุโมงค์ดอกวิสทีเรีย



อุโมงค์ดอกวิสทีเรีย (Wisteria Tunnel)


ตั้งอยู่ที่สวน คาวาชิ ฟูจิ ที่เมืองคิตะกีวชู ของญี่ปุ่น ความสวยงามของสถานที่นี้อยู่ที่ดอกไม้หลากหลายสีที่เรียงรายอยาบนอุโมงค์ ดอกวิสทีเรีย ฟลอริบันดา เจริญงอกงามตามเข็มนาฬิกาจนกลายเป็นรูปอุโมงค์แบบที่เห็นในภาพ ดอกไม้จะผลัดกันผลิบานเริ่มจากสีชมพูอ่อน แล้วผลัดเป็นสีม่วง จากนั้นก็จะงอกยาวลงมา แล้วกลายเป็นสีขาวในที่สุด



เป็นยังไงบ้างคะ กับความสวยที่เห็นแล้วต้องยกนิ้วให้ เพราะภาพที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือดอกวิสทีเรียที่บานสะพรั่งเต็มต้นเป็นม่านดอกไม้ ทั้งสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม ชมพู และขาว ห้อยอยู่ด้านบน เรียงกันเป็นแถวยาวไปตามเส้นทาง เมื่อเดินเข้าไปแล้วก็ให้ความรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังหลงไปอยู่ในเทพนิยายยังไงยังงั้น






  













ที่มา:https://sites.google.com/site/thanyaratprasreoth/sud-yxd-10-xandab-sthan-thi-thxng-theiyw-saen-ngdngam-thi-txng-pi-yeuxn-sak-khrang/xumongkh-dxk-wi-s-thi-reiy-wisteria-tunnel








มัลดีฟส์




ที่ตั้งของมัลดีฟส์

มัลดีฟส์เป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศศรีลังกา เป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ บนแนวเส้นศูนย์สูตร


เมืองหลวง

เมืองหลวงของมัลดีฟส์คือ เมืองมาเล Male' ซึ่งเป็นเกาะอยู่ตรงกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศ เป็นศูนย์รวม สถานที่ราชการ การค้าขาย และสถานที่สำคัญของประเทศ



สภาพภูมิศาสตร์                         
มัลดีฟส์มีพื้นที่ ประมาณ90,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่ง 99% เป็นทะเล ส่วนที่เหลือประกอบไปด้วยเกาะใหญ่น้อยรวมกันถึง 1,190 เกาะ บนกลุ่มอะตอลขนาดใหญ่ 26 อะตอล ความสูงของเกาะต่างๆเหนือน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 1 - 2 เมตร แต่ละเกาะยาวไม่เกิน 7 กิโลเมตร บางเกาะก็มีพื้นที่ซึ่งยาวไม่ถึง 1 กิโลเมตร ความยาวจากทิศเหนือถึงทิศใต้ 820 กิโลเมตร และทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 130 กิโลเมตร มีเกาะประมาณ 200 เกาะ ที่มีคนพักอาศัยอยู่ในจำนวนนี้มี 87 เกาะที่เป็นที่ตั้งของโรงแรมรีสอร์ทหรูหรา


อะตอลคืออะไร


อะตอลที่เกิดในมัลดีฟส์คือโครงสร้างของซากปะการังที่ทับถมกันในเขตน้ำตื้นกลางทะเลซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก มีรูปร่างคล้ายวงแหวนเป็นลากูน ส่วนที่โผล่พ้นระดับน้ำทะเลจะมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1 - 2 เมตร กลุ่มอะตอลนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า Laccadives-Chagos Ridge ซึ่งมีความยาวมากกว่า2,000 กิโลเมตร ส่วนขอบของวงแหวนเรียกว่า'Faru' เป็นแนวโครงสร้างของปะการังที่มีประโยชน์ในการป้องกันคลื่นลมแรงที่มาจากเขตน้ำที่ลึกกว่า

สภาพภูมิอากาศ


เนื่องจากมัลดีฟส์มีพื้นที่ทะเลถึง 99% ของประเทศ และตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศทั้งปีไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก สภาพอากาศจะเป็นแบบร้อนชื้น อบอุ่นตลอดทั้งปี อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 29 - 32 องศาเซลเซียส ฤดูในมัลดีฟจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงลมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เมษายน ช่วงนี้ฟ้าปลอดโปร่ง แดดจ้า เดือนที่ร้อนที่สุดจะเป็นเดือนเมษายน ส่วนอากาศเย็นสุดจะเป็นช่วงเดือนธันวาคม ช่วงลมตะวันตกฌฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนเป็นช่วงที่มีฝนตก ฝนที่นี่จะตกแบบเป็นช่วงสั้นๆ15-30 นาทีเหมือนลมพัดเอาเมฆฝนมาแล้วก็ผ่านไป แต่สภาพทะเลก็ยังสามารถเที่ยวได้


ประชากร


ประชากรของมัลดีฟส์มีประมาณ 270,000 คน นับเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในทวีปเอเชีย ประชากรส่วนใหญ่ ประมาณ 75,000 คน จะอาศัยอยู่ที่มาเล ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ รองลงมาเป็นเกาะ Hithadhoo ใน Addu อะตอล 9,640 คน, เกาะ Fuamulah 7,243 คนและเกาะ Kulhudhufushi ใน Haa Dhaalu อะตอล 6,354 คน ตามลำดับ บางเกาะอาจมีประชากรไม่ถึง 200 คน ส่วนคนท้องถิ่นเดิมคือชาวมัลดิเวียน (Maldivian) มีประวัติการเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากว่า 3,000 ปีมาแล้ว


ภาษา


ภาษาท้องถิ่นของชาวมัลดีฟส์คือ Dhivehi ตัวหนังสือเป็นแบบอารบิก สำหรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ได้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมัลดีฟเป็นเมืองท่องเที่ยว ภาษาต่างชาติอื่นๆที่เจ้าหน้าที่โรงแรมทั่วไปสามารถพูดได้ก็มี อาทิ ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี


เงินตรา


เงินตราของมัลดีฟส์คือ Rufiyaa และLaaree. อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่อ1 US Dollar ประมาณ MRf.12.75 ค่าของเงิน 1 Rufiyaa เท่ากับ 100 laarees. ธนบัตรมีอัตรา 5, 10, 20, 50, 100 และ 500 เหรียญแบ่งเป็น MRf.2.00, MRf.1.00, 50 laarees, 20, 10, 5, 2 และ1 laaree. การเดินทางเที่ยวมัลดีฟควรแลกเงินUS Dollar ไม่จำเป็นต้องแลกเงินท้องถิ่น การใช้เงินส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินสด หรือ travellers’ cheques หรือบัตรเครดิตที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเช่น American Express, Visa, Master Card, Diners Club, JCB และ Euro Card.


การศึกษา


ประชากรโดยทั่วไปของประเทศมีการศึกษาถึง 98% เนื่องจากได้รับการวางระบบการศึกษาของอังกฤษตั้งแต่ยังไม่ได้รับเอกราช


เวลาในมัลดีฟส์ GMT + 5 ชม.


เวลาช้ากว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง (ประเทศไทย GMT + 7 ชม.)


วันประกาศเอกราช


มัลดีฟส์ได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.1965 สามปีต่อมาวันที่ 11 พฤษจิกายน ค.ศ.1968 มัลดีฟประกาศเป็น สาธารณรัฐมัลดีฟ ทุกปี มีการฉลองกันที่เมืองมาเลบริเวณ Republic Square

วันชาติมัลดีฟส์


วันชาติมัลดีฟส์ คือวันที่ Mohamed Thakurufaanu มีชัยชนะเหนือกองทัพโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1573 ชาวมัลดีฟฉลองวันชาติในช่วงเดือนที่สามของปฎิทินอิสลาม


ศาสนา


ประชาชนส่วนใหญ่ในมัลดีฟนับถือศาสนาอิสลาม วันหยุดหรือเทศกาลสำคัญในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม

สถานที่น่าสนใจในเมืองมาเล่


ตลาดปลา


อาชีพหลักของชาวมัลดีฟส์คือการประมง ทุกๆวันจะมีปลาสดๆจากทะเลน้อยใหญ่มาส่งที่ตลาดแห่งนี้

ศูนย์วัฒนธรรมอิสลาม


เป็นศูนย์ขนาดใหญ่และสำคัญของเมืองมาเล่ ลักษณะอาคารมีโดมสีทองขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลาม มีมัสยิดที่จุได้ถึง 5,000 คน, ห้องสมุดของศาสนาอิสลาม, ห้องประชุม

ตลาดสด


อยู่ใกล้ๆกับตลาดปลา เป็นแหล่งรวมอาหารประเภทผักสด ผลไม้


มัสยิด Huskuru Miskiiy                        


เป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยคริสศตวรรษที่ 17 โดยสุลต่าน Ibrahim Iskandhar ในปี ค.ศ. 1656 มัสยิด Huskuru Miskiiy หรือ มัสยิดวันศุกร์ อาคารนี้ใช้ปะการังมาสลักเป็นลวดลายต่างๆ รอบๆเป็นหลุมฝังศพที่มีการใช้หินปะการังเช่นกัน ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามที่สำคัญของชาวมัลดีฟมากว่า 400 ปี จนกระทั่งมีการสร้างมัสยิดใหม่ที่ศูนย์วัฒนธรรมอิสลาม ในปี ค.ศ.1984.

ทำเนียบประธานาธิบดี Mulee-aage


เป็นพระราชวังเก่าสร้างในปี ค.ศ.1906 โดยสุลต่าน Mohamed Shamsuddeen III ถูกใช้เป็นบ้านของประธานาธิบดีระหว่างปี ค.ศ. 1953 - 1994 หลังจากมีการสร้างที่พักใหม่ให้ประธานาธิบดี ที่นี่จึงใช้เป็นสถานที่ทำงาน หรือทำเนียบของประธานาธิบดี

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติมัลดีฟส์


พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ Sultan’s Park อาคารที่ใช้เป็นพระราชวังเก่า เปิดให้ชมทุกวันระหว่างเวลา 9.00 - 11.40 และ 15.00 - 17.40 ยกเว้นวันศุกร์ และวันหยุดราชการ


สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติเมื่ออยู่ในมัลดีฟส์

- ไม่ควรนำทราย หอย ปะการัง ปลาทะเล และสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติออกจากมัลดีฟส์

- การเปลือยกายในที่สาธารณะ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

- ไม่ควรตกปลาในบริเวณที่พัก หากชื่นชอบกีฬาตกปลา ควรติดต่อขอข้อมูลจากทางรีสอร์ท

- สุภาพสตรีไม่ควรสวมสายเดี่ยว













ที่มา:http://www.packagemaldives.com/MaldivesGuide/MaldivesInfo.html




 เกาะอก กางเกงขาสั้นเที่ยวในเมืองมาเล่ เนื่องจากในเมืองเ

เมืองซิดนีย์ (sydney)


ซิดนีย์


 ซิดนีย์ นครแห่งอ่าวที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลีย และเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวลส์ วางแผนวันหยุดในซิดนีย์โดยใช้เส้นทางทัวร์แบบสามวันของเรา ที่จะนำคุณเยี่ยมชมจุดท่องเที่ยวน่าเยือนทั่วอ่าวซิดนีย์ หาดทราย และเขตเมืองชั้นใน ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเทือกเขาบลูเมาท์เทน มรดกโลก และเส้นทางเดินป่า Six Foot Track รู้จักกับสถานที่น่าเยือนอื่น ๆ ในนิวเซาท์เวลส์ และการเดินทางจากซิดนีย์ที่ผ่านทิวทัศน์อันงดงาม ขับรถขึ้นเหนือไปตามถนนสายท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งแปซิฟิกสู่บริสเบน ผ่าน Hunter Valley, Port Stephens และอ่าว Byron Bay ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ หรือมุ่งหน้าลงใต้ไปเมลเบิร์นผ่านหาดทรายขาวบริสุทธิ์ของ Jervis Bay ดูรายละเอียดเมืองอื่นของออสเตรเลีย เพื่อเป็นข้อมูลการท่องเที่ยวในวันหยุดที่เหลือของคุณ เที่ยวเมลเบิร์น, ถนน Great Ocean และ Red Centre ของออสเตรเลียได้ในเวลาสามอาทิตย์จากซิดนีย์ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันหยุดในซิดนีย์ได้ในบทความของเราเกี่ยวกับ Hunter Valley หาดทรายที่งามระยับของซิดนีย์ เส้นทางเดิน Bondi to Bronte และการแข่งขันเรือยอชต์ประจำปีจากซิดนีย์ไปยังเมืองโฮบาร์ต


ซิดนีย์และบริเวณโดยรอบ

ซิดนีย์และบริเวณโดยรอบ

ดื่มด่ำกับความงามของท่าเรือซิดนีย์ วิถีชีวิตกลางแจ้งอันเย้ายวนใจ และความงามของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ พายเรือคายัคผ่านใต้สะพานอ่าวซิดนีย์ หรือโบกมือทักทายโอเปร่าเฮาส์ขณะนั่งเรือข้ามอ่าวไปยังเขต Manly เรียนวิธีเล่นเซิร์ฟที่หาดบอนไดหรือแหวกว่ายในแหล่งน้ำอันเงียบสงบของ Coogee เพลินกับย่าน The Rocks บนถนนทางตันที่ปูด้วยหิน หรือในตลาด ร้านบูติก คาเฟ่และผับของ Paddington นอกเหนือจากท่าเรือที่มีชื่อเสียงระดับโลก และชายหาดที่มีชีวิตชีวามากกว่า 70 แห่ง ซิดนีย์ยังมีอาหารรสเลิศ งานเทศกาลและความสนุกสนานตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด



สามวันอันแสนสุขในซิดนีย์

สามวันอันแสนสุขในซิดนีย์

ชมอ่าว ชายหาด และเขตชั้นในของเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาแห่งนี้ ชมอรุณรุ่งจากยอดสะพาน Harbour Bridge หรือชมพระอาทิตย์ตกดินบนโอเปร่าเฮ้าส์ ทานอาหารค่ำชั้นเลิศในบริเวณท่าเทียบเรือ Woolloomooloo หรือสัมผัสประสบการณ์ชมละครและเต้นรำตามท่าเทียบเรือที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ของอ่าว Walsh Bay ขึ้นเรือข้ามฟากไปยังหาด Manly เดินไปตามหน้าผาริมทะเลอันงดงามจากหาดบอนไดสู่หาดบรอนเต้ หรือหย่อนใจในสวนเบียร์กับวิวของอ่าว Watsons Bay ชมเอกลักษณ์อันโดดเด่นของย่าน Surry Hills, Kings Cross, Glebe, Newtown หรือ Balmain ใช้เวลาวันสุดท้ายของคุณที่โรงบ่มไวน์ ร้านอาหาร หรือสปาของ Hunter Valley



The Rocks, Sydney

The Rocks

บรรยากาศช่วงต้นของยุคนักโทษในซิดนีย์ยังคงกรุ่นอยู่ในย่าน The Rocks ที่ซึ่งความจอแจบนถนนปูหินและถนนที่เป็นซอยตันอยู่ห่างจาก Circular Quay เพียง 5 นาที แค่เพียงออกจากบริเวณริมอ่าวไม่กี่ก้าวก็จะพบชานระเบียงและกระท่อมหินทราย รวมถึงผับที่เก่าแก่ที่สุดของซิดนีย์ ย่านอันเก่าแก่แห่งนี้ยังดึงดูดใจนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นด้วยพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ตลาดสุดสัปดาห์ที่มีชีวิตชีวา และโรงแรมที่มองเห็นทิวทัศน์ของอ่าว อดีตและปัจจุบันมีความขัดแย้งกันอย่างกลมกลืนที่สุดในย่าน The Rocks ซึ่งเป็นสถานที่จัดทัวร์ผีและงานเฉลิมฉลองที่มีชีวิตชีวาที่สุดของซิดนีย์บางงาน




 อุทยานแห่งชาติอ่าวซิดนีย์

อุทยานแห่งชาติอ่าวซิดนีย์

ไกลออกไปจากอาคารอันเป็นสัญลักษณ์ของเมือง Sydney Harbour National Park เป็นที่ตั้งของหาดอันสงบสันโดษ เกาะอันสวยงาม และป่าที่อุดมด้วยพืชพื้นเมืองพันธุ์หายาก ว่ายน้ำ ปิกนิก และเดินป่าไปตามชายฝั่งทะเลอันงดงาม หรือไปเยี่ยมชมเกาะต่างๆ ในอ่าวด้วยเรือข้ามฟาก แล่นเรือใบหรือพายเรือคายัค ใกล้ชิดกับสัตว์ป่าและค้นพบศิลปะบนก้อนหินในยุคโบราณตลอดจนอาคารที่สร้างขึ้นด้วยแรงงานนักโทษ อ่าว อุทยาน และแหลมของที่นี่ยังเป็นเวทีธรรมชาติสำหรับการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียบางงาน นับจากงานแสดงพลุดอกไม้ไฟในช่วงเทศกาลปีใหม่ ไปจนถึงการแข่งเรือจากซิดนีย์ไปโฮบาร์ต



บอนไดไปยังบรอนเต้ ซิดนีย์

บอนไดไปยังบรอนเต้ ซิดนีย์

ซิดนีย์ยามหน้าร้อนเกี่ยวพันกับแนวชายฝั่งของเมือง และบางส่วนที่มีชื่อเสียงไม่แพ้เส้นทางที่สลักเสลาด้วยธรรมชาติริมทะเลจากหาดบอนไดไปยังหาดบรอนเต้ เรียนวิธีเล่นเซิร์ฟที่หาดบอนได ใกล้ชิดกับสาวสวยที่หาด Tamarama และว่ายน้ำในแอ่งหินของหาดบรอนเต้ที่เหมาะกับการเที่ยวเป็นครอบครัว ชมหาดทั้งสามด้วยการเดินจากหาดบอนไดไปยังหาดบรอนเต้ ซึ่งเป็นเส้นทางระยะสั้นตามแนวชายฝั่งอันสวยงาม เลียบหน้าผาหินทรายอันยิ่งใหญ่ ดูเพิ่มเติม



หาดทรายที่น่าสนใจของซิดนีย์

หาดทรายที่น่าสนใจของซิดนีย์

พบกับหาดทรายระยิบระยับ 70 แห่งของซิดนีย์ ตั้งแต่อ่าวส่วนตัวไปจนถึงหาดทรายชื่อดังของโลก
หาดทรายของซิดนีย์จะดึงดูดความสนใจของคุณตั้งแต่เครื่องบินยังไม่ทันลงจอดที่เมือง Botany เสียอีก ขณะกำลังบินคุณอาจเห็นแนวยาวของหาดทรายสีทองที่รายรอบทั้งสองด้านของท่าเทียบเรือและประดับขอบด้วยแมกไม้สีเขียวและทะเล หรือวิดีโอต้อนรับบนเครื่องบินที่อาจเริ่มด้วยภาพของหาดทรายบอนไดชื่อดัง ที่จะติดตรึงอยู่ในความคิดของคุณ ถ้าคุณเป็นนักเล่นเซิร์ฟผู้ชื่นชอบแสงอาทิตย์ หรือเป็นแค่เพียงคนรักทะเล คุณจะกระตือรือร้นที่จะได้โต้คลื่น สูดกลิ่นไอเค็มจากทะเล หรือฝังตัวลงบนผืนทราย
 


เขตชานเมือง Glebe: หนังสือ แฟชั่นโบฮีเมียน และความคิดอันวิเศษ

เขตชานเมือง Glebe: หนังสือ แฟชั่นโบฮีเมียน และความคิดอันวิเศษ

ค้นหาความคิดและสิ่งดีเลิศในหมู่บ้านของเขตเมืองชั้นในที่มีบรรยากาศแห่งการศึกษาของนครซิดนีย์
Glebe เป็นบริเวณชานเมืองที่มีบรรยากาศแห่งความรักหนังสือ และบ่อยครั้งที่ถูกมองข้ามไปเมื่อเทียบกับบรรดาชานเมืองอื่น ๆ ของเขตเมืองชั้นในอันมีเสน่ห์ของนครซิดนีย์ แต่ใครจะมองหาบุคคลผู้มีชื่อเสียงหรือนักออกแบบแฟชั่นล่ะ ในเมื่อคุณมีสิ่งดีเลิศและความกล้าหาญทางปัญญาอยู่แล้ว



งาน Sydney Mardi Gras

งาน Sydney Mardi Gras

ยินดีต้อนรับสู่ซิดนีย์ในช่วงงานมาดิกราส์ Gay and Lesbian Mardi Gras ประจำปี นอกจากแสงแดดอันสดใส คุณยังจะได้สัมผัสกับโลกมายาที่ฉีกจากกรอบและปราศจากอคติ ไม่ว่าคุณจะเป็นหญิง ชาย เกย์ สูงวัยหรือหนุ่มสาว คุณจะหลงรักพลังความสนุกสนานตื่นเต้น ดึงดูดใจ ที่เคลื่อนผ่านเมืองนี้ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ฉลองงานเปิดเทศกาลนี้ที่ Fair Day งานปาร์ตี้ชุมชนขนาดใหญ่ในเขตตะวันตกตอนในของเมืองซิดนีย์ ชมขบวนที่ประกอบด้วยเครื่องประดับโลหะมันวาว สโลแกนตลกล้อเลียน และผู้คนที่อาบผิวสีแทน เคลื่อนไปตามถนนออกซ์ฟอร์ด ในงานพาเหรดเกย์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เต้นรำตลอดคืนในฤดูร้อนท่ามกลางสวนเขียวขจีของ Royal Botanic Gardens หรือในงานปาร์ตี้ส่งท้ายอันมีชื่อ เพลินกับการแสดงความแปลกของกลุ่มเกย์ใน Sydney Opera House และสถานที่อื่น ๆ ทั่วเมือง


การแข่งเรือ Sydney to Hobart Yacht Race

การแข่งเรือ Sydney to Hobart Yacht Race

คุณไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญการแล่นเรือก็สามารถร่วมสนุกได้ด้วยการชมการแข่งเรือยอชจากซิดนีย์ไปยังโฮบาร์ต การแข่งขันเริ่มขึ้นในวัน Boxing Day 26 ธันวาคม เป็นงานฤดูร้อนงานหนึ่งที่มีชื่อของออสเตรเลีย ปิกนิก ย่างบาร์บีคิว และชมหมู่เรือที่แล่นออกจากแหลมท่าเรือ หรือล่องเรือในอ่าวซิดนีย์ ส่งเสียงเชียร์ในขณะที่พวกเขาเข้าเส้นชัยได้ทันเวลาฉลองส่งท้ายปีเก่าที่โฮบาร์ต ระหว่างนั้น ทึ่งกับความแกร่งทนของเหล่านักแล่นเรือ และร่วมกังวลใจไปกับชาวออสเตรเลียคนอื่น ๆ ขณะเห็นพวกเขาต่อสู้กับทางน้ำวนในช่องแคบ Bass Strait



หาด Bondi รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Bondi รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Bondi เป็นหนึ่งในหาดชื่อดังที่สุดของออสเตรเลียและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ชายหาดที่นี่น่าจะปรากฏอยู่บนโปสการ์ด รายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ มากกว่าสถานที่ใดๆ ของออสเตรเลีย

ทุกปีจะมีผู้คนนับหมื่นๆ คน ตั้งแต่นักท่องเที่ยวสะพายเป้จนถึงมหาเศรษฐี มาที่หาดทรายกว้าง ยาวหนึ่งกิโลเมตร เนื้อทรายเป็นสีทองอร่าม เพื่อเดินเล่น วิ่งจ๊อคกิ้ง หรือแค่มาอาบแดดเฉยๆ ด้วยระยะทางที่ห่างจากใจกลางเมืองเพียง 10 กิโลเมตร หาด Bondi จึงเป็นหาดที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของซิดนีย์ ที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดงานต่างๆ ตลอดทั้งปี ตั้งแต่งานแสดงศิลปะของชุมชนไปจนถึงการแข่งขันวิ่งมาราธอน City to Surf



หาด Manly รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Manly รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Manly เป็นหาดชานเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของออสเตรเลียตามแนวชายฝั่งทางทิศเหนือของซิดนีย์ หาด Manly ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1788 โดยกัปตัน Arther Phillip ผู้ว่าการรัฐคนแรกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ จากความประทับใจของเขาที่มีต่อ 'ความมั่นใจและความเป็นลูกผู้ชาย' (manly) ของชาวอะบอริจินในพื้นที่แห่งนี้ นั่งเรือเฟอร์รี่สุดหรูไปยังหาด Manly จากท่าเรือ Circular Quay โดยใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง คุณก็จะมาถึงยังท่าเทียบเรือ Manly Wharf ‘เพียงแค่เจ็ดไมล์จากซิดนีย์ แต่เหมือนกับคุณหนีจากความวุ่นวายมาเป็นล้านไมล์’ เป็นคำพูดที่ชาวเมือง Manly มักจะกล่าวถึงเป็นประจำ เมื่อคุณไปถึงเมืองริมทะเลแห่งนี้คุณจะรู้ได้ทันทีว่าทำไมผู้คนจึงพูดเช่นนี้



หาด Coogee รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Coogee รัฐนิวเซาท์เวลส์

ด้วยชายหาดระยิบระยับ เส้นทางเดินเลียบชายฝั่งและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ทะเลพร้อมกับแหล่งโต้คลื่นชั้นเยี่ยม การดำน้ำทั้งแบบสนอร์กเกิลและดำน้ำลึก หาด Coogee คือแหล่งรวบรวมไลฟ์สไตล์บนชายหาดที่คลาสสิกของชาวออสเตรเลียเข้าไว้ด้วยกันที่นี่ หาด Coogee มีหาดทรายสีทองยาวสุดลูกหูลูกตา สระน้ำทะเลที่มีชื่อเสียง และสวนสีเขียวมากมายสำหรับการทำบาร์บีคิวและปิกนิก ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ใช้เวลาเดินทางจากใจกลางซิดนีย์แค่ 20 นาทีเท่านั้น ที่นี่เป็นหาดในฝันสำหรับทุกครอบครัว เพราะมีนักกู้ชีพประจำอยู่ที่นี่ตลอดทั้งปีให้คุณมั่นใจว่าจะว่ายน้ำได้อย่างปลอดภัย หาด Coogee เป็นย่านชานเมืองเก่าแก่ที่สุดย่านหนึ่งของซิดนีย์ จึงมีอาคารประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่ง ยอดผาที่รายล้อมมีเส้นทางเดินป่าหลายแห่งที่พร้อมให้ชมวิวทิวทัศน์ของซิดนีย์ได้กว้างมากที่สุด



หาด Palm Beach รัฐนิวเซาท์เวลส์

หาด Palm Beach รัฐนิวเซาท์เวลส์

ขับรถจากตัวเมืองเพียงชั่วโมงนิดๆ คุณก็จะมาถึงหาด Palm Beach ที่ตั้งอยู่อย่างเป็นส่วนตัวตอนปลายหาดฝั่งเหนือของซิดนีย์ ที่นี่อยู่ปลายสุดของความยาวคาบสมุทร โดยมีที่โต้คลื่นอยู่ฝั่งหนึ่งและอ่าว Pittwater อยู่อีกฝั่ง เศรษฐีของประเทศนี้หลายคนได้มาสร้างบ้านพักตากอากาศไว้ที่นี่ แฟนหนังอาจจะจำหาด Palm Beach นี้ได้ในฉากหมู่บ้านในตำนานที่ชื่อ 'Summer Bay' จากภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์เรื่องดัง 'Home and Away' ที่มาถ่ายทำกันที่นี่ หาดสีทองทอดยาวกว่าสองกิโลเมตรวาดแนวโค้งจากแหลม Barrenjoey Head ที่ส่วนหัวทางด้านใต้ของอ่าว Broken Bay ไปยังหินทรายของแหลม Little Head ทางทิศใต้



 สามสัปดาห์จากซิดนีย์

สามสัปดาห์จากซิดนีย์

มาการผจญภัยในออสเตรเลียของคุณที่ซิดนีย์ คุณสามารถปีน Harbour Bridge และแวะชมโรงละคร Opera House ได้ ใกล้กับขอบเมืองซิดนีย์ เชิญคุณสำรวจมรดกโลก Blue Mountains หรือเมืองไร่องุ่น Hunter Valley ว่ายน้ำกับโลมาที่ Port Stephens หรืออ่าว Jervis ที่ส่องประกายแวววับ บินหรือขับรถจนถึงเมลเบิร์น ที่นี่คุณจะได้ซึมซับวัฒนธรรมจากห้องแสดงศิลปะ ทานอาหาร เครื่องดื่ม และเลือกซื้อสินค้าในตรอกซอกซอยอันน่าพิศวงของที่นี่ ขับรถจนถึงเกาะ Phillip Island, Mornington Peninsula หรือขับไปตามเส้นทาง Great Ocean Road อันงดงามจนถึง Bells Beach และ The Twelve Apostles นอกจากนี้คุณยังสามารถนั่งเครื่องบินไปจนถึง Red Centre ของออสเตรเลียเพื่อชมความงามของ Uluru, Kata Tjuta, MacDonnell Ranges, Kings Canyon และเมืองห่างไกลอย่างอลิซ สปริงส์